วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

One Belt One Road : เส้นทางสายไหม

One Belt One Road : เส้นทางสายไหม


เส้นทางสายไหมโบราณ


           เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้ว จาง เชียน (Zhang Qian) ทูตของราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น นำคณะเดินทางไปยังดินแดนแถบเอเชียกลาง การเดินทางของจาง เชียน ทำให้เกิดเครือข่ายเส้นทางการค้า เรียกว่า “เส้นทางสายไหม” ที่เชื่อมโยงจีนกับดินแดนที่ปัจจุบันประกอบด้วย คาซักสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน คีร์กีสถาน เตอร์กเมนิสถาน และอัฟกานิสถาน รวมทั้งปากีสถาน

         
           คลื่นลูกที่ 1 ของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์จึงเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนเอเชียกลาง ที่เป็นจุดศูนย์กลางของการค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตก การติดต่อทางการค้าทำให้เกิดความมั่งคั่งติดตามมา รวมทั้งความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนา จีนส่งออกสินค้าพวกผ้าไหม เครื่องเทศ และหยก และนำเข้าสินค้าพวกทอง โลหะมีค่า งาช้าง และเครื่องแก้ว ชื่อของเส้นทางการค้าจึงมาจากผ้าไหมที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและส่งออกสำคัญของจีน ทุกวันนี้ จาง เชียน กลายเป็นวีรบุรุษของจีน เพราะเป็นคนแรกที่บุกเบิก และเปิดประเทศจีนกับการค้าโลก

           ในศตวรรษที่ 13 และ 14 พวกมองโกลขยายอาณาจักรเข้ามาแถบเอเชียกลาง ทำให้การค้าตามเส้นทางสายไหมหยุดชะงักลงไป ในปี ค.ศ. 1405 เจิ้ง เหอ (Zheng He) ผู้บัญชาการทหารเรือจีนในสมัยราชวงศ์หมิง นำกองเรือหลายร้อยลำและลูกเรือ 27,000 คน ออกเดินทางสำรวจทางทะเล จากจีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตก แอฟริกาตะวันออก และคาบสมุทรอาหรับ การเดินเรือของเจิ้ง เหอ แล่นไปตามแนวเส้นทางทะเล ที่เคยเป็นเส้นทางการค้าระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับจีน นับจากศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา การค้าระหว่างเอเชียกับยุโรปก็เปลี่ยนมาอาศัยเส้นทางทะเลแทน

เส้นทางสายไหมศตวรรษ 21


           ที่ผ่านมา คนทั่วโลกไม่ค่อยสนใจโครงการ One Belt, One Road (OBOR) หรือเส้นทางสายไหมศตวรรษ 21 ที่ริเริ่มโดยจีน เพราะโครงการเพิ่งเริ่มต้นได้ไม่นาน ความคืบหน้าจึงมีไม่มาก แต่การประชุมสุดยอด OBOR เมื่อ 14-15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทำให้คนทั่วโลกหันมาสนใจกับโครงการนี้ เพราะอยากจะรู้ว่า จีนจะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำที่ส่งเสริมการค้าโลกโดยชักจูงผู้นำประเทศต่างๆ มาเข้าร่วมประชุมได้มากน้อยเพียงไร ในยามที่สหรัฐอเมริกาในสมัยโดนัลด์ ทรัมป์ หันไปยึดนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน”

           ประการที่ 2 โครงการ OBOR ดำเนินไปแล้ว 3 ปีกว่าหลังจากที่จีนประกาศเปิดตัวโครงการครั้งแรก การประชุมระดับสุดยอดของผู้นำประเทศจึงเป็นเรื่องจำเป็น ไม่เพียงแค่การประเมินเป้าหมายเหตุผลของโครงการ OBOR แต่ยังรวมถึงการประเมินความสำเร็จและผลกระทบของโครงการต่อประเทศที่เกี่ยวข้อง เพราะ OBOR เป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีขนาดใหญ่มาก โครงการมาร์แชลของสหรัฐฯ คิดมูลค่าในปัจจุบัน 130 พันล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีขนาดแค่ 1 ใน 11 ของ OBOR เท่านั้น
         
           ในเดือนกันยายน 2013 สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ในช่วงไปเยือนคาซักสถาน แถลงเปิดตัวครั้งแรกถึงการริเริ่มโครงการ “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” ที่ประกอบด้วยเครือข่ายถนนและเส้นทางรถไฟ เชื่อมจีนกับยุโรปผ่านเอเชียกลางในเดือนตุลาคม ต่อมา เมื่อไปเยือนอินโดนีเซีย สี จิ้นผิง กล่าวเปิดตัวโครงการ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” ที่เชื่อมท่าเรือจีนกับท่าเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และยุโรป ตลอดเส้นทางบกและเส้นทางทะเล จะมีการลงทุนปรับปรุงท่าเรือ และสร้างศูนย์การผลิตอุตสาหกรรมและการค้าขึ้นมา

           โครงการเครือข่ายเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลนี้มีชื่อเรียกอยู่หลายอย่าง เช่น การริเริ่มแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative) หรือ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road) โครงการเส้นทางบกมีชื่อเป็นทางการว่า “แถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม” (Silk Road Economic Belt: SREB) ส่วนเส้นทางมหาสมุทร เรียกว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล” (Maritime Silk Road) เมื่อสี จิ้นผิง เองกล่าวถึงโครงการนี้โดยรวมจะใช้คำในภาษาจีนว่า “yi dia yi lu” ที่หมายถึง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”

           ภายใต้นโยบาย “OBOR” ของจีนนั้น ไม่เพียงจะปลุกชีพเส้นทางสายไหมในอดีต ยังได้ผนวกเอาเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) เข้ามาด้วย โดย Silk Road ทางบกนั้นประกอบไปด้วย 6 เส้นทางคือ (1) เส้นทางยูเรเซีย (Eurasia) จากตะวันตกจีนไปถึงตะวันตกของรัสเซีย (2) เส้นทางจีน-มองโกเลีย-รัสเซียตะวันออก (3) เส้นทางตะวันตกจีน-เอเชียกลาง-ตุรกี (4) เส้นทางจีน-แหลมอินโดจีน-สิงคโปร์ (5) เส้นทาง จีน-ปากีสถาน และ (6) เส้นทางจีน-พม่า-บังกลาเทศ-อินเดีย

           เส้นทางสายไหมทางบกนั้น จะอาศัยการขนส่งระบบรางและรถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก ผ่านตลาดการค้าและการลงทุนสำคัญๆ ได้แก่ คาซัคสถาน อิหร่าน ตุรกี สู่เมืองท่าการค้าและอุตสาหกรรมสำคัญๆในยุโรป อาทิ แฟรงก์เฟิร์ต เวนิส และอัมสเตอร์ดัม

           ขณะที่เส้นทางสายไหมทางทะเลนั้น เริ่มต้นจากเมืองท่าสำคัญอย่างเซี่ยงไฮ้ เทียนจิน ฟุโจว ลงมาทะเลจีนใต้ มายังกลุ่มอาเซียนข้ามช่องแคบมะละกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย สู่ตะวันออกกลาง บางส่วนของเส้นทางผ่านแอฟริกาตะวันตก ผ่านอ่าวเปอร์เซียเข้าสู่คลองสุเอซเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมุ่งหน้ายังยุโรป เชื่อมทางสายไหมทางบก

           เมื่อร้อยเส้นทางสายไหมใหม่ ตามยุทธศาสตร์ที่ผู้นำจีนป่าวประกาศที่นัยว่าจะครอบคลุมพื้นที่ใน 65 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 4,500 ล้านคน หรือกว่า 62% ของประชากรโลก มีสัดส่วนจีดีพีรวมกันกว่า 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯหรือกว่า 1 ใน 3 ของจีดีพีของโลกเลยทีเดียว

           มีการคาดการณ์กันด้วยว่า การปลุกชีพเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ จะมีการลงทุนมหาศาลมากกว่า 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยผู้นำจีนได้ประกาศทุ่มงบกว่า 124,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯเป็นกองทุนสำหรับสนับสนุนการลงทุนเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 นี้ ในรูปแบบที่จะเปิดกว้างในการเจรจาในแต่ละประเทศด้วย


 เป็น “Big Think” ที่ทำให้ประเทศต่างๆ ไม่อาจจะนิ่งเฉยอยู่ได้ รวมทั้งประเทศไทย!!!


5 สิ่งที่จะเปลี่ยนไปในปี 2017 ภายใต้โครงการเส้นทางสายไหมใหม่

1. เส้นทางสายไหมที่เป็นรูปธรรมขึ้น


           ความเปลี่ยนแปลงแรกก็คือตัวโครงการ OBOR เอง หลังจากถูกวิจารณ์มานานว่าเส้นทางสายไหมใหม่เป็นเพียงโครงการขายฝัน เป็นคำพูดสวยหรูของจีนบังหน้าการเข้าไปมีอิทธิพลเหนือประเทศกำลังพัฒนาที่เล็กกว่า โดยเฉพาะจากบรรดานักการเมืองยุโรป ที่เคยชินกับโครงการที่เขียนอย่างรัดกุม มีโครงสร้างและกรอบเวลาชัดเจน การประชุมนานาชาติที่เพิ่งจบไปที่ปักกิ่ง มีการวางโครงสร้าง OBOR ที่เป็นรูปธรรมขึ้น และมีการให้คำมั่นสัญญาที่ชัดเจนขึ้นจากผู้นำแต่ละประเทศ ว่าจะร่วมมือกับจีนในโครงการนี้

2. เมกะโปรเจ็คย่อยผุดทั่วเอเชีย-แอฟริกา

            ในขณะที่ปี 2016 เป็นปีแห่งการเจรจาเมกะโปรเจ็คต่างๆในเส้นทางสายไหมใหม่ ระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ ปี 2017 จะเป็นปีที่น่าจะได้เห็นโครงการเหล่านี้เริ่มก่อสร้างเสียที เช่นท่าเรือน้ำลึกอนัคเลียในทะเลดำ จอร์เจีย และทางรถไฟบากู-ทบิลิซี เชื่อมต่อเมืองหลวงของอาเซอร์ไบจันกับเมืองหลวงของจอร์เจีย หรือโครงการที่ก่อสร้างไปแล้ว ก็จะเห็นความคืบหน้ามากขึ้น เช่นท่าเรือน้ำลึกที่กวาดาร์ หัวใจสำคัญของระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน หนึ่งในเสาหลักของ OBOR

3. ยุโรปจะเข้าร่วมเส้นทางสายไหมใหม่เต็มตัวขึ้น

            ในการประชุมผู้นำนานาชาติว่าด้วยโครงการเส้นทางสายไหมใหม่เมื่อวันที่ 14-15 พฤษภาคมที่ผ่านมา รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปรับปากสนับสนุน OBOR อย่างเต็มที่ แม้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนี ที่เข้าร่วมการประชุมด้วย จะยังกังขาในความโปร่งใสของ OBOR และเรียกร้องให้จีนการันตีว่าจะสนับสนุนการค้าเสรีมากกว่านี้ก็ตาม ส่วนภาคเอกชนในยุโรป ต่างก็ตื่นตัวกับเส้นทางรถไฟเชื่อมยุโรป-จีนอย่างมาก หลังจากขบวนรถไฟอี้อู-ลอนดอน เปิดให้บริการไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากทางรถไฟนี้ได้พิสูจน์ว่าทางสายไหมใหม่ไม่ใช่แค่ช่องทางนำของถูกจากจีนมาทุ่มใส่ตลาดยุโรป แต่ยังเป็นช่องให้สินค้าราคาแพงจากยุโรปเจาะเข้าตลาดจีนและเอเชียที่กำลังเติบโตได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะเวชภัณฑ์ รถยนต์ และสินค้าแบรนด์เนม

4. รัสเซียถูกจีน-ยุโรปค้าขายข้ามหัว

           แม้ว่าเส้นทางสายไหมทางบกจากจีนไปยังเอเชียกลางและยุโรป จะถูกลากผ่านกรุงมอสโกของรัสเซียด้วย แต่ก็ไม่จำเป็นที่ขบวนคาราวานสินค้าจะต้องวกขึ้นเหนือไปถึงรัสเซีย เมื่อเส้นทางทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ จีนสามารถจยสินค้าไปยังยุโรปโดยผ่านตุรกีและประเทศแถบคอร์เคซัสใต้ เมื่อการคว่ำบาตรกันระหว่างยุโรปและรัสเซียยังดำเนินอยู่อย่างน้อยจนสิ้นปีนี้ การค้าระหว่างยุโรปกับจีนก็จะยิ่งเข้มข้นขึ้นโดยผ่านเส้นทางสายไหมใหม่ ทำให้รัสเซียถูกโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ


5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซีย อินเดีย จีน ญี่ปุ่น สอดประสานกันมากขึ้น

           แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มหาอำนาจหลายประเทศจะพยายามผลักดันเขตอิทธิพลทางการค้าในภูมิภาคตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแผนเชื่อมโยงเอเชียกลางของอินเดีย การอัดฉีดเงินเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอาเซียนโดยญี่ปุ่น หรือ EEC สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียที่รัสเซียผลักดันเพื่อคงอิทธิพลในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่สุดท้ายแล้ว ทั้งหมดจะสอดประสานกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้เส้นทางสายไหมใหม่ ที่เป็นโครงการใหญ่ครอบคลุมทุกๆโครงการที่กล่าวมาทั้งหมด

ผลกระทบจาก One BeltOne Road ต่อประเทศไทย


          นโยบาย One Belt One Road ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง แต่หากพิจารณาตามเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 จะพบว่าตลอดเส้นทางการค้าสายนี้ทั้งทางบกและทางน้ำ ไม่ผ่านประเทศไทยเลย หากแต่เชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในทางภูมิศาสตร์ ไทยถือเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ จึงกล่าวได้ว่าผลกระทบต่อไทยที่เกิดจากนโยบาย One Belt One Road เป็นผลกระทบทางอ้อม แต่ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ และมิติทางสังคม วัฒนธรรม


มิติทางเศรษฐกิจ

           การที่จีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียนและการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อของท่าเรือต่างๆตามเส้นทางสายไหมทางทะเลในขณะที่ไทยคือศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นไทยจึงควรอาศัยความได้เปรียบนี้ผลักดันตนเองให้เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและเป็นศูนย์กลางของการกระจายสินค้าระหว่างภูมิภาคอาเซียนและจีนรวมถึงภูมิภาคอื่นๆ

           ในส่วนของเส้นทางการค้าทางทะเลจีนมีทางออกติดทะเลเพียงด้านเดียวดังนั้นจีนจึงอาศัยแนวคิด Maritime Silk Road เป็นการปกป้องเส้นทางการค้าทางทะเลของตน โดยร่วมมือกับประเทศที่เป็นทางผ่าน ซึ่งบางประเทศในอาเซียนอย่างเวียดนาม และฟิลิปปินส์ที่กำลังมีข้อพิพาทกับจีนในเรื่องของการรุกล้ำอธิปไตยทางทะเล ส่งผลให้ทั้งสองประเทศนี้ไม่ใคร่จะยอมรับแนวคิด Maritime Silk Road ของจีนเท่าใดนัก ซึ่งอาจเป็นโอกาสของไทยในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน ในฐานะที่ไทยเป็นส่วนสำคัญของภูมิภาคอาเซียน และไม่มีข้อพิพาทใด ๆ กับจีน

            การจัดตั้ง AIIB ของจีนส่งผลกระทบทางบวกต่อไทยในด้านของการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการผลักดันให้สกุลเงินหยวนเป็นอีกหนึ่งเงินสกุลหลักในเวทีการค้าระหว่างประเทศจะส่งผลบวกต่อไทยในแง่ของความหลากหลายในตลาดเงินระหว่างประเทศซึ่งถือเป็นการลดต้นทุนและกระจายความเสี่ยงในตลาดเงินอย่างไรก็ตามเมื่อเงินหยวนกลายเป็นหนึ่งสกุลเงินหลักในเวทีการค้าโลกย่อมส่งผลต่อรูปแบบการค้าระหว่างไทยและจีน ดังนั้นไทยจำต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย


มิติทางสังคม วัฒนธรรม


           ไทยและจีนถือได้ว่ามีการเชื่อมโยงทางเชื้อสายและวัฒนธรรมอันดีต่อกัน ความได้เปรียบนี้ย่อมส่งผลบวกต่อหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมด้านความบันเทิง อุตสาหกรรมด้านการศึกษา เป็นต้น 

           โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านการศึกษาของไทยได้รับผลกระทบทางบวกจากการที่รัฐบาลจีนมีนโยบายให้การสนับสนุนชาวจีนเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศด้วยการให้สิทธิของการสมัครเป็นพลเมืองของเมืองใหญ่ๆของจีนหลังจากที่จบการศึกษาและกลับมาทำงานที่ประเทศตน ซึ่งอุดมศึกษาของไทยถือเป็นแหล่งที่ชาวจีนให้ความสำคัญในอันดับต้น ๆ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อันตรายจากสิ่งมีชีวิตในทะเล : แมงกะพรุน

แมงกะพรุน

           แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว ลักษณะลำตัวใสและนิ่ม มีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหาร มีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อที่ลอยมาตามน้ำ เช่น แพลงค์ตอน ปลา กุ้ง ปู ไข่ปลา รวมถึงแมงกะพรุนด้วยกันกินเป็นอาหาร ไม่ค่อยมีศัตรูหรือคู่แข่งตามธรรมชาติ มีผู้ล่าหลักคือ เต่าทะเล ปลาทูน่า ปลาฉลาม ปลาพระอาทิตย์ (Sunfish) และแมงกะพรุนด้วยกัน ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร 
           แมงกะพรุนเป็นสัตว์น้ำที่มีระบบการทำงานของร่างกายไม่ซับซ้อน มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเล แต่บางชนิดอยู่ในน้ำจืด พบได้ทั้งในบริเวณน้ำตื้นทั่วไป, ผิวน้ำ, และทะเลลึก ทั้งในทะเลเขตร้อนไปจนถึงทะเลน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก





           แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนกล่องโปรตุเกส

ภาพ : แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส


เรื่องน่าทึ่งของแมงกะพรุน


1.เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สุดในโลก

       แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการน้อยมาก นับตั้งแต่เกิดขึ้นมาในโลก อาศัยอยู่ในโลกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 500 ล้านปี (อาจถึง 700 ล้านปีหรือกว่านั้น) จึงนับเป็นสัตว์ที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดในโลก

2.มีขนาดเล็กจิ๋วจนถึงหลายสิบเมตร

           แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ

3.จัดเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

           เป็นสัตว์ที่ไม่มีหัวใจ ไม่มีกระดูก ไม่มีระบบเลือด และไม่มีสมอง มีเพียงระบบประสาทพื้นฐานเท่านั้น

4.มีระบบการเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาสัตว์นํ้าทั้งหมด

           เคลื่อนที่ด้วยการหดขยายร่างกายรูประฆังของตัวเอง เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนดันตัวไปข้างหน้า จึงใช้พลังงานน้อย ซึ่งนับเป็นการเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในบรรดาสัตว์น้ำทั้งหมด

รูปร่าง

           แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจ ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า "เมดูซา" ซึ่งศัพท์นี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน

PSM V16 D661 Medusa and campanularida.jpg

ภาพ : ส่วนหนวดของแมงกะพรุน

           แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปี โดยถือกำเนิดก่อนไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี หรือก่อนมนุษย์ราว 500,000 ปี โดยถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมานานแล้วจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ


วงจรชีวิตของแมงกะพรุน

           หลังจากผสมพันธุ์แล้ว แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า "ซิเลีย" จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น "พลานูลา" จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น "โพลิป" ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดจิ๋ว คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า "อีฟีรา" หรือ "เมดูซา" มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง

ไฟล์:Reproductive cycle of jellyfish.jpg

ภาพ : วงจรชีวิตของแมงกะพรุน

           นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียพบว่า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีการนอนหลับพักผ่อนเช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่มีโคร่งร่างซับซ้อนชนิดอื่น ๆ ด้วย ทั้งที่เป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง แต่ทว่ามีการพัฒนาของเซลล์ประสาท


อันตรายจากแมงกะพรุน


           อันตรายจากแมงกะพรุนเกิดจากการสัมผัสกับพิษที่อยู่ตรงบริเวณหนวดของแมงกะพรุน ซึ่งแมงกะพรุนใช้เพื่อจับเหยื่อที่ลอยมาตามกระแสน้ำ ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต สลบ หรือเสียชีวิต

           สำหรับมนุษย์อย่างเราหากบังเอิญไปสัมผัสโดนหนวดของแมงกะพรุนที่มีพิษเข้า ผลที่ปรากฏอาจมีได้ตั้งแต่ เป็นรอยผื่นแดง เกิดแผลพุพอง ไปจนถึงหมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพิษแมงกะพรุนชนิดนั้นๆ และระดับการแพ้พิษของผู้ป่วยด้วย

1.แมงกะพรุนที่มีพิษปานกลางถึงรุนแรง ได้แก่ แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนสาหร่าย
2.แมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมาก คือ แมงกะพรุนไฟขวดเขียว (Protuguese Man-of-War หรือ Blue Bottle) และแมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish หรือ Sea Wasp ที่แปลเป็นภาษาไทยตรงตัวว่า “แตนทะเล”)
3.พิษของแมงกะพรุนกล่องชนิด Chironex fleckeri นับเป็นพิษจากสัตว์ที่มีผลรุนแรงที่สุดในโลก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในไม่กี่นาที
4.พิษของแมงกะพรุน บรรจุอยู่ในแคปซูลที่เรียกว่า nematocyst ซึ่งกระจายอยู่ทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณหนวด แคปซูลที่ว่านี้จะทำงานเมื่อสัมผัสกับเหยื่อ โดยการยิงเข็มพิษออกมาเพื่อเจาะผ่านผิวหนังของเหยื่อลงไป แล้วปล่อยพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อ
5.แม้แมงกะพรุนจะตายแล้ว หรือหนวดจะหลุดจากตัวแล้ว แต่เข็มพิษของแมงกะพรุนยังคงทำงานต่อได้อีกหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน


พิษของแมงกะพรุน

           แมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า "มีนีมาโตซีส" หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลา และใช้สำหรับป้องกันตัว ปริมาณของนีมาโตซีสอาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น ซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ภาพ : เข็มพิษของแมงกะพรุน


การทำงานของเซลล์พิษแมงกะพรุน

           เมื่อหนวดแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวของสิ่งที่น่าจะเป็นเหยื่อ จะกระตุ้นให้ถุงพิษยิงเข็มพิษออกมาปักลงไปบนผิวของเหยื่อ แล้วฉีดพิษเข้าไป ขณะก่อนจะยิงเข็มพิษ ความดันภายในถุงพิษอาจจะสูงถึง 14,000kPa (140 bar) หรือสูงกว่า
           การยิงเข็มพิษของแมงกะพรุน ใช้เวลาน้อยกว่า 10 ในพันวินาที (10 millisec) เท่ากับมีอัตราเร่งมากกว่า 40,000 g (งานวิจัยล่าสุดระบุว่าน้อยกว่า 1 ส่วนล้านวินาที (1 microsec) หรือเทียบเท่ากับอัตราเร่งมากกว่า 5 ล้าน g) จัดเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่เร็วที่สุด
           พิษของแมงกะพรุนยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก สารบางชนิดในพิษทำให้ผนังเซลฉีกขาด ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว สารบางชนิดก่อกวนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ




การจำแนกและคุณลักษณะ

           แมงกะพรุนไฟที่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว โดยทั่วไปแล้วแมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย 

ไฟล์:Jellyfish population trends by LME.jpg

ภาพ : แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแมงกะพรุนทั่วโลก

           แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่พบได้ในท้องทะเลทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งส่วนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งเช่น มหาสมุทรอาร์กติก หรือในที่ ๆ ลึกเป็นพัน ๆ เมตรที่แสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง คาดการว่ามีแมงกะพรุนทั้งหมดราว 30,000 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีราว 2,000 ชนิด และเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษราว 70 ชนิด ที่มีอันตรายต่อมนุษย์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนไฟ

ภาพ : แมงกะพรุนไฟ

           ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ (Crysaora spp.) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาลหรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำทะเลราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้ ห้ามใช้น้ำจืดเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายตัวและออกมาจากถุงพิษมากขึ้น 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ภาพ : แมงกะพรุนนํ้าจืด
          
           มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุนเช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนขนสิงโต

ภาพ : แมงกะพรุนขนสิงโต

           แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ

           ในปัจจุบันเชื่อกันว่ามีแมงกะพรุนอาศัยอยู่ในโลกใต้ทะเลมากถึง 30,000 ชนิด แต่เป็นที่รู้จักเพียง 2,000 ชนิดเท่านั้น ด้วยความที่แมงกระพรุนมีหลากหลายชนิด ลักษณะรูปร่างก็จะแตกต่างกันไปรวมถึงความอันตรายด้วย จึงแบ่งกลุ่มแมงกะพรุนออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้

1.Scyphozoa (JellyFish)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Scyphozoa

           กลุ่มแมงกะพรุนทั่วๆไป เป็นแมงกะพรุนธรรมดาที่เรามักจะเห็นลอยมาเกยตื้นกัน ส่วนใหญ่เป็นแมงกะพรุนที่คนนำมาทำเป็นอาหารกัน

2.Hydrozoa(Portuguese man-of-war)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Hydrozoa(

           กลุ่มแมงกะพรุนไฟมีลักษณะที่แตกต่างจากแมงกะพรุนธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสีสันที่ค่อนข้างสดและหนวดที่ยาว หากไปสัมผัสแมงกะพรุนในกลุ่มนี้เข้า บริเวณที่สัมผัสจะเป็นรอยคล้ายรอยไหม้ขึ้น อีก20-30นาทีต่อมาจะเกิดอาการบวมนูนขึ้นตามผิวหนังแล้วเกิดเป็นแผลเล็กๆและแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง หากเกิดอาการแพ้จะเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งควบคุมไม่ได้ หายใจไม่ออกและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

3.Cubozoa (Box Jellyfish) 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Cubozoa

           กลุ่มแมงกะพรุนกล่อง ที่ได้ชื่อว่าแมงกะพรุนกล่องเพราะมีลักษณะคล้ายร่มหรือระฆังควํ่า มีขนาดที่แตกต่างกัน มีหนวดเป็นสายโดยแต่ละสายสามารถยาวได้ถึง 3 เมตร ตัวของแมงกะพรุนมักมีลักษณะโปร่งใส อาจมีสีอ่อนๆบ้างทำให้สังเกตได้ยาก แมงกะพรุนกล่องได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกอย่างไรก็ตามแมงกะพรุนกล่องนั้นไม่ได้มีพิษร้ายแรงทุกชนิด มีเพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้นที่มีอันตรายถึงชีวิตและสามารถทําให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น เราสามารถพบแมงกะพรุนกล่องได้บริเวณชายฝั่งของประเทศ Maxico, Japan, Australia ส่วนในประเทศไทยมีรายงานว่าพบบริเวณเกาะหมาก จ.ตราด และเกาะลันตา จ.กระบี่ โดยพบมากในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน และหลังพายุฝนที่พัดพามาใกล้ฝั่ง



ประโยชน์ของแมงกะพรุน



           แมงกะพรุนหลายชนิดที่มนุษย์เรานำมารับประทานเป็นอาหารได้ ที่รู้จักกันดี คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) แมงกะพรุนลอดช่อง และแมงกะพรุนหอม สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ

           ชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม ก่อนจะนำออกขาย

           คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย


การดูแลรักษาเพื่อลดอาการพิษของแมงกะพรุน


1.ให้แช่หรือล้างด้วยน้ำส้มสายชูอย่างอ่อนประมาณ 15-30 นาที แต่ หากไม่มีให้ล้างด้วยน้ำทะเล หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล ห้ามล้างด้วยน้ำจืดเพราะจะทำให้เข็มพิษปล่อยออกมามากขึ้น และห้ามขัดถูบริเวณที่โดนแมงกะพรุน หลังจากนั้นใช้น้ำแข็งหรือน้ำอุ่นประคบ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำส้มสายชู

2. การใช้ครีมโกนหนวดทาลงบริเวณที่โดนแมงกะพรุน แล้วใช้มีดโกนโกนออก หรือ ใช้บัตรพลาสติก เช่น บัตรเครดิต ขูดออกเพื่อกำจัดเอาเข็มพิษที่ติดอยู่ออกไป แล้วจึงใช้น้ำส้มสายชูอย่างอ่อน หรือ แอลกอฮอล์ล้างต่อไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มีดโกน

3. วิธีที่ง่ายที่สุดและมีการทดสอบเปรียบเทียบถึงผลการรักษาชัดเจนว่าได้ผลดีที่สุด คือ การใช้น้ำอุ่น ค่อนข้างร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 45 องศาเซลเซียส วิธีนี้จะระงับความเจ็บปวด และการอักเสบได้ดีที่สุด จากการทดสอบ พบว่าอาการปวดลงภายใน 4-10 นาที และลดอาการปวมได้ จึงถือว่าเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้สะดวกที่สุด 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นำ้อุ่น

4. ผักบุ้งทะเลสามารถรักษาพิษของแมงกะพรุนได้ วิธีการใช้โดยนำใบผักบุ้งทะเล มา ตำหรือขยี้ให้ละเอียดพอกบริเวณที่โดนพิษ แต่หากสามารถคั้นเอาแต่น้ำได้ให้คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่โดนพิษของแมง กะพรุน จะช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้ การนำผักบุ้งทะเลมาใช้นั้นควรล้างให้สะอาดก่อนเพราะผักบุ้งทะเลที่ขึ้นอยู่ ตามชายฝั่ง โดยเฉพาะในที่ชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวนั้นอาจมีสิ่งปฏิกูล หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ปนเปื้อนอยู่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักบุ้งทะเล

5. ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนอาจจะมีอาการแพ้พิษทำให้เป็นไข้ หรืออาเจียน หรือเกิดอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน เช่น ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาจะมีอาการที่เป็นผื่นรุนแรง และปวดแสบปวดร้อนมากกว่าคนไทย ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนชนิดที่ไม่รุนแรง ก็จะหายจากอาการปวดแสบปวดร้อนและผื่นแดง หลังจากล้างพิษด้วยผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูประมาณ 30-60 นาที หลังจากนั้นจะมีอาการแพ้พิษอื่นๆ ให้รักษาตามอาการและจะหายภายใน 2-3 วัน แต่ยังคงเหลือร่องรอยของการโดนพิษซึ่งจะปรากฎให้เห็นอยู่เป็นเดือน ถ้าเจอกับแมงกระพรุนไฟ หรือแมงกระพรุนชนิดร้ายแรง ก็จะกลายไปเป็นแผลเป็นไปในที่สุด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เป็นไข้

6. สำหรับผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนไฟ (Portuguese man-of-war)หรือแมงกะพรุนกล่อง(Box Jellyfish) ซึ่งจะมีความรุนแรงมากโดนพิษครั้งแรกจะปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังที่โดนจะเป็นรอยไหม้ และเป็นแผลเรื้อรัง จนอาจจะเป็นแผลเป็นได้ ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผื่น แมงกะพรุนไฟ

ข้อควรปฏิบัติที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ขณะที่ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือ หลังจากการปฐมพยาบาล ควรรีบนำผู้ที่ได้รับพิษไปพบแพทย์ทันที 




การป้องกันหรือการหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนพิษของแมงกะพรุน

1. หลีกเลี่ยงการลงทะเลในช่วงหลังพายุฝนหรือช่วงที่มีแมงกะพรุนชุกชุม เพราะอาจมีกะเปาะพิษหลุดลอยในทะเลแม้เราจะไม่ได้สัมผัสกับแมงกะพรุนก็ตาม
2. สังเกตรอบตัวอยู่เสมอหากพบเจอแมงกะพรุนพยายามอยู่ให้ห่าง
3. สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดเวลาลงเล่นนํ้าทะเลหรือลงดำนํ้า
4. ใช้ครีมที่มีคุณสมบัติป้องกันพิษของแมงกะพรุนก่อนลงทะเล 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  http://www.freedomdive.com/th/tip/jellyfish
                                       http://www.thaiticketmajor.com/variety/info/237/
                                       https://th.wikipedia.org/wiki/แมงกะพรุน
                                       https://hilight.kapook.com/view/107616
                                       https://health.kapook.com/view174597.html
                                   http://www.antijellyfish.com/
                                   http://www.healthcarethai.com/พิษแมงกะพรุน

           เหตุผลที่นิสิตเลือกศึกษาแมงกะพรุนก็เพราะว่าตอนเด็กๆนิสิตเคยโดนแมงกะพรุนบริเวณขา แม้อาการจะไม่หนักมาก แต่ก็รู้สึกเจ็บปวดทรมานพอสมควร และยังทำให้นิสิตอดเล่นทะเลอีกด้วย ตอนเด็กๆนิสิตไม่รู้ว่าเจ้าตัวใสๆ ลอยได้นี้คือแมงกะพรุน นิสิตคิดว่าเป็นถุงพลาสติก ทำให้ขาดความระมัดระวัง จึงโดนพิษมันเข้าให้ ในตอนนั้นนิสิตไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะแก้พิษ เผอิญมีคุณลุงผ่านมา เขาบอกให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูทำให้อาการดีขึ้น นิสิตต้องขอบคุณคุณลุงเป็นอย่างมากที่ช่วยนิสิต เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้นิสิตนึกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าเราเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันรักษาพิษจากแมงกะพรุนให้คนทั่วไปทราบก็คงจะดี และอยากจะช่วยรณรงค์ให้ติดตั้งเสาน้ำส้มสายชูทุกๆชายหาด



การรั่วไหลของนํ้ามัน (Oil Spill)

       


การรั่วไหลของนํ้ามัน (Oil Spill)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรั่วไหลของนำ้มัน

           การรั่วไหลของน้ำมันสามารถเกิดได้ทั้งตามธรรมชาติ เช่น รั่วจากแหล่งน้ำมันใต้ดิน หรือจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อุบัติเหตุจากเรือ การขุดเจาะน้ำมัน หรือการลักลอบปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำ การรั่วไหลส่วนมากมักมีที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์
           สาเหตุหนึ่งของน้ำมันรั่วไหลในทะเลมาจากกิจกรรมการขนส่งทางทะเล การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจะควบคู่ไปกับความต้องการพลังงานภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น และอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้น้ำมันบางส่วนเกิดรั่วไหลลงสู่ทะเลเสมอ ถึงแม้จะมีมาตรการป้องกันต่างๆแล้วก็ตาม



การเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเลไทย


         กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2553 เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลที่ได้ดำเนินการตรวจสอบและจัดการแก้ไขร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 124 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เป็นการรั่วไหลในปริมาณเล็กน้อย สาเหตุของการรั่วไหลที่พบมากที่สุดคือ
           1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินเรือ เก็บกัก หรือสูบถ่ายน้ำมันชำรุด
           2. รั่วไหลระหว่างการสูบถ่ายน้ำมันกลางทะเลจากเรือขนาดใหญ่ลงสู่เรือขนาดเล็ก หรือระหว่างเรือกับท่าเทียบเรือ
           3. การลักลอบทิ้ง เช่น ปล่อยทิ้งน้ำมันชนิดเดิมก่อนบรรทุกน้ำมันชนิดใหม่ หรือลักลอบถ่ายน้ำอับเฉา
           4. เรืออับปาง เนื่องจากเรือโดนกัน ชนหินโสโครก/หินฉลาม หรือไฟไหม้
           5. สาเหตุอื่นๆ เช่น รั่วไหลจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล น้ำทิ้งจากฝั่ง หรือรั่วไหลตามธรรมชาติ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill

ผลกระทบจากการรั่วไหลของนํ้ามันต่อสัตว์

           สัตว์ที่ได้รับผลกระทบมีตั้งแต่สัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นปลาแพลงตอนสัตว์ เปลือกแข็ง (เช่นกุ้ง เคย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร) นกทะเล เพนกวิน นากทะเล แมวน้ำ สิงโตทะเลแต่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและมีอัตราการตายสูงมักเป็นพวกนกน้ำ


1.ทางกายภาพ (Physical impact)

          เมื่อขนสัตว์ซึ่งปกติจะกันน้ำ (ทำให้สัตว์ลอยน้ำได้และรักษาอุณหภูมิของร่างกาย) ถูกน้ำมันเปื้อนจะจับกันเป็นก้อนทำให้น้ำซึมเข้าถึงผิวหนังมีผลให้สัตว์ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้จึงหนาวตาย (เนื่องจากอุบัติเหตุเหล่านี้มักเกิดในต่างประเทศเขตหนาวเช่นแคนาดาอเมริกา เหนือหรืออาจเกิดoverheatถ้าเกิดในเขตร้อน) และอาจทำให้สัตว์จมน้ำตายได้นอกจากนั้นคราบน้ำมันยังอาจอุดตันจมูกปากหรือ ระคายเคืองตาได้และในภาวะดังกล่าวสัตว์ผู้ล่าก็จะล่าสัตว์เหล่านี้ได้โดยง่าย (แต่หมายถึงได้กินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ) นอกจากนี้คราบน้ำมันที่เคลือบผิวหนังจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไปยับยั้งการสืบพันธ์และการเจริญเติบโตโดยเฉพาะ ไข่นกจะไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้


2.การปนเปื้อนของสารพิษ(Toxic contamination)


          น้ำมันมีความเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร (ทำให้เกิดแผลหลุมและมีเลือดออกในทางเดินอาหาร),ตับ,ตับอ่อน,ไต (ทำลายเนื้อเยื่อเหล่านี้อย่างรุนแรง),ปอด (ปอดบวมจากการสำลักพบได้เป็นปกติในกรณีเช่นนี้),ระบบประสาทส่วนกลางและมีผลระยะยาวต่อระบบสืบพันธุ์โดยน้ำมันสามารถเข้าสู่ตัวสัตว์ได้ทั้งทางการหายใจ (ไอระเหย) ซึมผ่านทางผิวหนังและทางปาก (จากการปนเปื้อนในอาหารและจากพฤติกรรมการไซร้ขนเมื่อขนเปื้อนน้ำมันจะทำให้สารที่เป็นพิษจากน้ำมันจะเข้าสู่ตัวสัตว์ได้)


3.ผลต่อแหล่งอาหาร (Food resource contamination)

          สัตว์น้ำที่ปนเปื้อนน้ำมันจะมีสารพิษในตัวเมื่อสัตว์ผู้ล่ากินเข้าไปก็จะได้รับสารพิษและสัตว์ที่ปนเปื้อนมักมีกลิ่นน้ำมันทำให้ผู้ล่าไม่กินเกิดภาวะขาดอาหาร นอกจากนี้คราบน้ำมันยังปิดกั้นแสงสว่างที่ส่องลงมาสู่พื้นท้องน้ำมีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำน้ำมันที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้สัตว์น้ำตายได้น้ำมันที่มีความหนาแน่นสูงเมื่อจมลงสู่พื้นท้องทะเลมีผลต่อสัตว์หน้าดินแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเลคราบน้ำมันเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศ หาดทราย

news_02_02_oil

มาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล


               การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหล ต้องอาศัยการร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เพื่อสามารถดำเนินการบรรเทาผลกระทบและความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เตรียมมาตรการจัดการต่างๆ ดังนี้

            1. ควบคุมและแก้ปัญหาการลักลอบปล่อยทิ้งของเสีย

                  ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการจัดการของเสียจากเรือ โดยกำหนดให้เขตท่าเรือ 5 เขต ได้แก่ เขตท่าเรือกรุงเทพฯ เขตท่าเรือศรีราชา เขตท่าเรือมาบตาพุด เขตท่าเรือสงขลา และเขตท่าเรือภูเก็ต เป็นเขตที่ต้องจัดการบริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรั่วไหลของนำ้มัน


              2. ป้องกันน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลขณะมีการขนถ่ายระหว่างเรือกับเรือ 

                  ตามประกาศของกรมเจ้าท่า เรื่องมาตรการความปลอดภัยในการขนถ่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ ที่กำหนดให้นายเรือทั้งสองลำร่วมกันตรวจสอบความปลอดภัยของเรือก่อนการขนถ่ายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการรั่วไหลขณะขนถ่ายในทะเล

               3.กำหนดและจัดทำแผนที่เขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหล 

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้แผนที่นี้ กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการเดินเรือในน่านน้ำทะเล ในประเทศและน่าน้ำทะเลสากลระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิด จากน้ำมันรั่วไหลต่อสิ่งแวดล้อม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรั่วไหลของนำ้มัน

       

             4.สร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคม

                  โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งกองทุนป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากน้ำมันรั่วไหล

              5.สร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเล 

                  อบรมให้ความรู้เบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันในทะเล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกรมเจ้าท่า


วิธีการขจัดคราบน้ำมัน


           การขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลสามารถกระทำได้หลายวิธี โดยพิจารณาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ชนิดของน้ำมัน ปริมาณการรั่วไหล ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำ กระแสลม สภาพอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมซึ่งวิธีการขจัดคราบน้ำมันสามารถแบ่งได้วิธีการ 3 วิธีดังนี้

           1. การปล่อยให้สลายตัวตามธรรมชาติ

                เหมาะสมในกรณีที่มีการรั่วไหลจำนวนเล็กน้อย และชนิดของน้ำมันที่รั่วไหลสามารถสลายตัวเองได้ดีในธรรมชาติ เช่น น้ำมันดีเซล แต่ยังต้องมีการติดตาม และเฝ้าระวังผลกระทบของคราบน้ำมัน ว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงในลักษณะใดบ้าง เพื่อหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill

           2.ใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน

                เป็นวิธีการที่ใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การใช้สารเคมีที่ทำให้น้ำมันแตกตัว เป็นโมเลกุลเล็กๆ (oilspill dispersant) หรือสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (biosurfactant) ที่ผลิตจากจุลินทรีย์บางชนิดสารเคมีที่ นำมาใช้ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ และต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ควรใช้วิธีนี้เมื่อขจัดคราบน้ำมันไม่ได้ผลหรือไม่ทันการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill

           3.การทำความสะอาดชายฝั่ง

                เป็นวิธีขจัดคราบน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันถูกพัดเข้าหาฝั่ง โดยใช้คนและอุปกรณ์เข้าเก็บรวบรวมคราบน้ำมัน และใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บคราบน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันจับตัวเป็นก้อนหรือปนเปื้อนกับขยะ เช่น พลั่ว เสียม และถุงพลาสติก รวมทั้งใช้เครื่องมือตักน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันยังไม่จับกันเป็นก้อน

             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

http://www.ioithailand.com/web_student57/1/th/main.html
http://www.mkh.in.th/index.php/2010-03-22-18-05-34/2011-08-24-04-53-01
http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=465:seubnews&Itemid=14