วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การรั่วไหลของนํ้ามัน (Oil Spill)

       


การรั่วไหลของนํ้ามัน (Oil Spill)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรั่วไหลของนำ้มัน

           การรั่วไหลของน้ำมันสามารถเกิดได้ทั้งตามธรรมชาติ เช่น รั่วจากแหล่งน้ำมันใต้ดิน หรือจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อุบัติเหตุจากเรือ การขุดเจาะน้ำมัน หรือการลักลอบปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำ การรั่วไหลส่วนมากมักมีที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์
           สาเหตุหนึ่งของน้ำมันรั่วไหลในทะเลมาจากกิจกรรมการขนส่งทางทะเล การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจะควบคู่ไปกับความต้องการพลังงานภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น และอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้น้ำมันบางส่วนเกิดรั่วไหลลงสู่ทะเลเสมอ ถึงแม้จะมีมาตรการป้องกันต่างๆแล้วก็ตาม



การเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเลไทย


         กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2519 – 2553 เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลที่ได้ดำเนินการตรวจสอบและจัดการแก้ไขร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 124 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เป็นการรั่วไหลในปริมาณเล็กน้อย สาเหตุของการรั่วไหลที่พบมากที่สุดคือ
           1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินเรือ เก็บกัก หรือสูบถ่ายน้ำมันชำรุด
           2. รั่วไหลระหว่างการสูบถ่ายน้ำมันกลางทะเลจากเรือขนาดใหญ่ลงสู่เรือขนาดเล็ก หรือระหว่างเรือกับท่าเทียบเรือ
           3. การลักลอบทิ้ง เช่น ปล่อยทิ้งน้ำมันชนิดเดิมก่อนบรรทุกน้ำมันชนิดใหม่ หรือลักลอบถ่ายน้ำอับเฉา
           4. เรืออับปาง เนื่องจากเรือโดนกัน ชนหินโสโครก/หินฉลาม หรือไฟไหม้
           5. สาเหตุอื่นๆ เช่น รั่วไหลจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล น้ำทิ้งจากฝั่ง หรือรั่วไหลตามธรรมชาติ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill

ผลกระทบจากการรั่วไหลของนํ้ามันต่อสัตว์

           สัตว์ที่ได้รับผลกระทบมีตั้งแต่สัตว์น้ำขนาดเล็กเช่นปลาแพลงตอนสัตว์ เปลือกแข็ง (เช่นกุ้ง เคย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร) นกทะเล เพนกวิน นากทะเล แมวน้ำ สิงโตทะเลแต่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดและมีอัตราการตายสูงมักเป็นพวกนกน้ำ


1.ทางกายภาพ (Physical impact)

          เมื่อขนสัตว์ซึ่งปกติจะกันน้ำ (ทำให้สัตว์ลอยน้ำได้และรักษาอุณหภูมิของร่างกาย) ถูกน้ำมันเปื้อนจะจับกันเป็นก้อนทำให้น้ำซึมเข้าถึงผิวหนังมีผลให้สัตว์ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้จึงหนาวตาย (เนื่องจากอุบัติเหตุเหล่านี้มักเกิดในต่างประเทศเขตหนาวเช่นแคนาดาอเมริกา เหนือหรืออาจเกิดoverheatถ้าเกิดในเขตร้อน) และอาจทำให้สัตว์จมน้ำตายได้นอกจากนั้นคราบน้ำมันยังอาจอุดตันจมูกปากหรือ ระคายเคืองตาได้และในภาวะดังกล่าวสัตว์ผู้ล่าก็จะล่าสัตว์เหล่านี้ได้โดยง่าย (แต่หมายถึงได้กินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ) นอกจากนี้คราบน้ำมันที่เคลือบผิวหนังจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไปยับยั้งการสืบพันธ์และการเจริญเติบโตโดยเฉพาะ ไข่นกจะไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้


2.การปนเปื้อนของสารพิษ(Toxic contamination)


          น้ำมันมีความเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร (ทำให้เกิดแผลหลุมและมีเลือดออกในทางเดินอาหาร),ตับ,ตับอ่อน,ไต (ทำลายเนื้อเยื่อเหล่านี้อย่างรุนแรง),ปอด (ปอดบวมจากการสำลักพบได้เป็นปกติในกรณีเช่นนี้),ระบบประสาทส่วนกลางและมีผลระยะยาวต่อระบบสืบพันธุ์โดยน้ำมันสามารถเข้าสู่ตัวสัตว์ได้ทั้งทางการหายใจ (ไอระเหย) ซึมผ่านทางผิวหนังและทางปาก (จากการปนเปื้อนในอาหารและจากพฤติกรรมการไซร้ขนเมื่อขนเปื้อนน้ำมันจะทำให้สารที่เป็นพิษจากน้ำมันจะเข้าสู่ตัวสัตว์ได้)


3.ผลต่อแหล่งอาหาร (Food resource contamination)

          สัตว์น้ำที่ปนเปื้อนน้ำมันจะมีสารพิษในตัวเมื่อสัตว์ผู้ล่ากินเข้าไปก็จะได้รับสารพิษและสัตว์ที่ปนเปื้อนมักมีกลิ่นน้ำมันทำให้ผู้ล่าไม่กินเกิดภาวะขาดอาหาร นอกจากนี้คราบน้ำมันยังปิดกั้นแสงสว่างที่ส่องลงมาสู่พื้นท้องน้ำมีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำน้ำมันที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้สัตว์น้ำตายได้น้ำมันที่มีความหนาแน่นสูงเมื่อจมลงสู่พื้นท้องทะเลมีผลต่อสัตว์หน้าดินแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเลคราบน้ำมันเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศ หาดทราย

news_02_02_oil

มาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล


               การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหล ต้องอาศัยการร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เพื่อสามารถดำเนินการบรรเทาผลกระทบและความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้เตรียมมาตรการจัดการต่างๆ ดังนี้

            1. ควบคุมและแก้ปัญหาการลักลอบปล่อยทิ้งของเสีย

                  ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการจัดการของเสียจากเรือ โดยกำหนดให้เขตท่าเรือ 5 เขต ได้แก่ เขตท่าเรือกรุงเทพฯ เขตท่าเรือศรีราชา เขตท่าเรือมาบตาพุด เขตท่าเรือสงขลา และเขตท่าเรือภูเก็ต เป็นเขตที่ต้องจัดการบริการจัดเก็บและบำบัดของเสียจากเรือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรั่วไหลของนำ้มัน


              2. ป้องกันน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลขณะมีการขนถ่ายระหว่างเรือกับเรือ 

                  ตามประกาศของกรมเจ้าท่า เรื่องมาตรการความปลอดภัยในการขนถ่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ ที่กำหนดให้นายเรือทั้งสองลำร่วมกันตรวจสอบความปลอดภัยของเรือก่อนการขนถ่ายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการรั่วไหลขณะขนถ่ายในทะเล

               3.กำหนดและจัดทำแผนที่เขตความเสี่ยงต่อน้ำมันรั่วไหล 

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้แผนที่นี้ กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการเดินเรือในน่านน้ำทะเล ในประเทศและน่าน้ำทะเลสากลระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิด จากน้ำมันรั่วไหลต่อสิ่งแวดล้อม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรั่วไหลของนำ้มัน

       

             4.สร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคม

                  โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และจัดตั้งกองทุนป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากน้ำมันรั่วไหล

              5.สร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเล 

                  อบรมให้ความรู้เบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันในทะเล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกรมเจ้าท่า


วิธีการขจัดคราบน้ำมัน


           การขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลสามารถกระทำได้หลายวิธี โดยพิจารณาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ชนิดของน้ำมัน ปริมาณการรั่วไหล ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำ กระแสลม สภาพอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมซึ่งวิธีการขจัดคราบน้ำมันสามารถแบ่งได้วิธีการ 3 วิธีดังนี้

           1. การปล่อยให้สลายตัวตามธรรมชาติ

                เหมาะสมในกรณีที่มีการรั่วไหลจำนวนเล็กน้อย และชนิดของน้ำมันที่รั่วไหลสามารถสลายตัวเองได้ดีในธรรมชาติ เช่น น้ำมันดีเซล แต่ยังต้องมีการติดตาม และเฝ้าระวังผลกระทบของคราบน้ำมัน ว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงในลักษณะใดบ้าง เพื่อหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill

           2.ใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน

                เป็นวิธีการที่ใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันบนผิวน้ำได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น การใช้สารเคมีที่ทำให้น้ำมันแตกตัว เป็นโมเลกุลเล็กๆ (oilspill dispersant) หรือสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (biosurfactant) ที่ผลิตจากจุลินทรีย์บางชนิดสารเคมีที่ นำมาใช้ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ และต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ควรใช้วิธีนี้เมื่อขจัดคราบน้ำมันไม่ได้ผลหรือไม่ทันการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill

           3.การทำความสะอาดชายฝั่ง

                เป็นวิธีขจัดคราบน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันถูกพัดเข้าหาฝั่ง โดยใช้คนและอุปกรณ์เข้าเก็บรวบรวมคราบน้ำมัน และใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บคราบน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันจับตัวเป็นก้อนหรือปนเปื้อนกับขยะ เช่น พลั่ว เสียม และถุงพลาสติก รวมทั้งใช้เครื่องมือตักน้ำมันในกรณีที่คราบน้ำมันยังไม่จับกันเป็นก้อน

             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ oil spill


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

http://www.ioithailand.com/web_student57/1/th/main.html
http://www.mkh.in.th/index.php/2010-03-22-18-05-34/2011-08-24-04-53-01
http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=465:seubnews&Itemid=14

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น