วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อันตรายจากสิ่งมีชีวิตในทะเล : แมงกะพรุน

แมงกะพรุน

           แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว ลักษณะลำตัวใสและนิ่ม มีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหาร มีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อที่ลอยมาตามน้ำ เช่น แพลงค์ตอน ปลา กุ้ง ปู ไข่ปลา รวมถึงแมงกะพรุนด้วยกันกินเป็นอาหาร ไม่ค่อยมีศัตรูหรือคู่แข่งตามธรรมชาติ มีผู้ล่าหลักคือ เต่าทะเล ปลาทูน่า ปลาฉลาม ปลาพระอาทิตย์ (Sunfish) และแมงกะพรุนด้วยกัน ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร 
           แมงกะพรุนเป็นสัตว์น้ำที่มีระบบการทำงานของร่างกายไม่ซับซ้อน มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเล แต่บางชนิดอยู่ในน้ำจืด พบได้ทั้งในบริเวณน้ำตื้นทั่วไป, ผิวน้ำ, และทะเลลึก ทั้งในทะเลเขตร้อนไปจนถึงทะเลน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก





           แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนกล่องโปรตุเกส

ภาพ : แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส


เรื่องน่าทึ่งของแมงกะพรุน


1.เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สุดในโลก

       แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการน้อยมาก นับตั้งแต่เกิดขึ้นมาในโลก อาศัยอยู่ในโลกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 500 ล้านปี (อาจถึง 700 ล้านปีหรือกว่านั้น) จึงนับเป็นสัตว์ที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดในโลก

2.มีขนาดเล็กจิ๋วจนถึงหลายสิบเมตร

           แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ

3.จัดเป็นแพลงก์ตอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

           เป็นสัตว์ที่ไม่มีหัวใจ ไม่มีกระดูก ไม่มีระบบเลือด และไม่มีสมอง มีเพียงระบบประสาทพื้นฐานเท่านั้น

4.มีระบบการเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาสัตว์นํ้าทั้งหมด

           เคลื่อนที่ด้วยการหดขยายร่างกายรูประฆังของตัวเอง เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนดันตัวไปข้างหน้า จึงใช้พลังงานน้อย ซึ่งนับเป็นการเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในบรรดาสัตว์น้ำทั้งหมด

รูปร่าง

           แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจ ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า "เมดูซา" ซึ่งศัพท์นี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน

PSM V16 D661 Medusa and campanularida.jpg

ภาพ : ส่วนหนวดของแมงกะพรุน

           แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปี โดยถือกำเนิดก่อนไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี หรือก่อนมนุษย์ราว 500,000 ปี โดยถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมานานแล้วจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ


วงจรชีวิตของแมงกะพรุน

           หลังจากผสมพันธุ์แล้ว แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า "ซิเลีย" จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น "พลานูลา" จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น "โพลิป" ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดจิ๋ว คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า "อีฟีรา" หรือ "เมดูซา" มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง

ไฟล์:Reproductive cycle of jellyfish.jpg

ภาพ : วงจรชีวิตของแมงกะพรุน

           นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียพบว่า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีการนอนหลับพักผ่อนเช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่มีโคร่งร่างซับซ้อนชนิดอื่น ๆ ด้วย ทั้งที่เป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง แต่ทว่ามีการพัฒนาของเซลล์ประสาท


อันตรายจากแมงกะพรุน


           อันตรายจากแมงกะพรุนเกิดจากการสัมผัสกับพิษที่อยู่ตรงบริเวณหนวดของแมงกะพรุน ซึ่งแมงกะพรุนใช้เพื่อจับเหยื่อที่ลอยมาตามกระแสน้ำ ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต สลบ หรือเสียชีวิต

           สำหรับมนุษย์อย่างเราหากบังเอิญไปสัมผัสโดนหนวดของแมงกะพรุนที่มีพิษเข้า ผลที่ปรากฏอาจมีได้ตั้งแต่ เป็นรอยผื่นแดง เกิดแผลพุพอง ไปจนถึงหมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพิษแมงกะพรุนชนิดนั้นๆ และระดับการแพ้พิษของผู้ป่วยด้วย

1.แมงกะพรุนที่มีพิษปานกลางถึงรุนแรง ได้แก่ แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนสาหร่าย
2.แมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมาก คือ แมงกะพรุนไฟขวดเขียว (Protuguese Man-of-War หรือ Blue Bottle) และแมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish หรือ Sea Wasp ที่แปลเป็นภาษาไทยตรงตัวว่า “แตนทะเล”)
3.พิษของแมงกะพรุนกล่องชนิด Chironex fleckeri นับเป็นพิษจากสัตว์ที่มีผลรุนแรงที่สุดในโลก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในไม่กี่นาที
4.พิษของแมงกะพรุน บรรจุอยู่ในแคปซูลที่เรียกว่า nematocyst ซึ่งกระจายอยู่ทั่วตัว โดยเฉพาะบริเวณหนวด แคปซูลที่ว่านี้จะทำงานเมื่อสัมผัสกับเหยื่อ โดยการยิงเข็มพิษออกมาเพื่อเจาะผ่านผิวหนังของเหยื่อลงไป แล้วปล่อยพิษเข้าสู่ตัวเหยื่อ
5.แม้แมงกะพรุนจะตายแล้ว หรือหนวดจะหลุดจากตัวแล้ว แต่เข็มพิษของแมงกะพรุนยังคงทำงานต่อได้อีกหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน


พิษของแมงกะพรุน

           แมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า "มีนีมาโตซีส" หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลา และใช้สำหรับป้องกันตัว ปริมาณของนีมาโตซีสอาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น ซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ภาพ : เข็มพิษของแมงกะพรุน


การทำงานของเซลล์พิษแมงกะพรุน

           เมื่อหนวดแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวของสิ่งที่น่าจะเป็นเหยื่อ จะกระตุ้นให้ถุงพิษยิงเข็มพิษออกมาปักลงไปบนผิวของเหยื่อ แล้วฉีดพิษเข้าไป ขณะก่อนจะยิงเข็มพิษ ความดันภายในถุงพิษอาจจะสูงถึง 14,000kPa (140 bar) หรือสูงกว่า
           การยิงเข็มพิษของแมงกะพรุน ใช้เวลาน้อยกว่า 10 ในพันวินาที (10 millisec) เท่ากับมีอัตราเร่งมากกว่า 40,000 g (งานวิจัยล่าสุดระบุว่าน้อยกว่า 1 ส่วนล้านวินาที (1 microsec) หรือเทียบเท่ากับอัตราเร่งมากกว่า 5 ล้าน g) จัดเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่เร็วที่สุด
           พิษของแมงกะพรุนยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก สารบางชนิดในพิษทำให้ผนังเซลฉีกขาด ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว สารบางชนิดก่อกวนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ




การจำแนกและคุณลักษณะ

           แมงกะพรุนไฟที่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว โดยทั่วไปแล้วแมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย 

ไฟล์:Jellyfish population trends by LME.jpg

ภาพ : แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแมงกะพรุนทั่วโลก

           แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่พบได้ในท้องทะเลทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งส่วนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งเช่น มหาสมุทรอาร์กติก หรือในที่ ๆ ลึกเป็นพัน ๆ เมตรที่แสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง คาดการว่ามีแมงกะพรุนทั้งหมดราว 30,000 ชนิด แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีราว 2,000 ชนิด และเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษราว 70 ชนิด ที่มีอันตรายต่อมนุษย์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนไฟ

ภาพ : แมงกะพรุนไฟ

           ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ (Crysaora spp.) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาลหรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำทะเลราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้ ห้ามใช้น้ำจืดเด็ดขาด เพราะจะทำให้พิษกระจายตัวและออกมาจากถุงพิษมากขึ้น 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ภาพ : แมงกะพรุนนํ้าจืด
          
           มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุนเช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แมงกะพรุนขนสิงโต

ภาพ : แมงกะพรุนขนสิงโต

           แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ

           ในปัจจุบันเชื่อกันว่ามีแมงกะพรุนอาศัยอยู่ในโลกใต้ทะเลมากถึง 30,000 ชนิด แต่เป็นที่รู้จักเพียง 2,000 ชนิดเท่านั้น ด้วยความที่แมงกระพรุนมีหลากหลายชนิด ลักษณะรูปร่างก็จะแตกต่างกันไปรวมถึงความอันตรายด้วย จึงแบ่งกลุ่มแมงกะพรุนออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้

1.Scyphozoa (JellyFish)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Scyphozoa

           กลุ่มแมงกะพรุนทั่วๆไป เป็นแมงกะพรุนธรรมดาที่เรามักจะเห็นลอยมาเกยตื้นกัน ส่วนใหญ่เป็นแมงกะพรุนที่คนนำมาทำเป็นอาหารกัน

2.Hydrozoa(Portuguese man-of-war)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Hydrozoa(

           กลุ่มแมงกะพรุนไฟมีลักษณะที่แตกต่างจากแมงกะพรุนธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสีสันที่ค่อนข้างสดและหนวดที่ยาว หากไปสัมผัสแมงกะพรุนในกลุ่มนี้เข้า บริเวณที่สัมผัสจะเป็นรอยคล้ายรอยไหม้ขึ้น อีก20-30นาทีต่อมาจะเกิดอาการบวมนูนขึ้นตามผิวหนังแล้วเกิดเป็นแผลเล็กๆและแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง หากเกิดอาการแพ้จะเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งควบคุมไม่ได้ หายใจไม่ออกและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

3.Cubozoa (Box Jellyfish) 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Cubozoa

           กลุ่มแมงกะพรุนกล่อง ที่ได้ชื่อว่าแมงกะพรุนกล่องเพราะมีลักษณะคล้ายร่มหรือระฆังควํ่า มีขนาดที่แตกต่างกัน มีหนวดเป็นสายโดยแต่ละสายสามารถยาวได้ถึง 3 เมตร ตัวของแมงกะพรุนมักมีลักษณะโปร่งใส อาจมีสีอ่อนๆบ้างทำให้สังเกตได้ยาก แมงกะพรุนกล่องได้รับการจัดอันดับว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกอย่างไรก็ตามแมงกะพรุนกล่องนั้นไม่ได้มีพิษร้ายแรงทุกชนิด มีเพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้นที่มีอันตรายถึงชีวิตและสามารถทําให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น เราสามารถพบแมงกะพรุนกล่องได้บริเวณชายฝั่งของประเทศ Maxico, Japan, Australia ส่วนในประเทศไทยมีรายงานว่าพบบริเวณเกาะหมาก จ.ตราด และเกาะลันตา จ.กระบี่ โดยพบมากในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน และหลังพายุฝนที่พัดพามาใกล้ฝั่ง



ประโยชน์ของแมงกะพรุน



           แมงกะพรุนหลายชนิดที่มนุษย์เรานำมารับประทานเป็นอาหารได้ ที่รู้จักกันดี คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) แมงกะพรุนลอดช่อง และแมงกะพรุนหอม สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ

           ชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม ก่อนจะนำออกขาย

           คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย


การดูแลรักษาเพื่อลดอาการพิษของแมงกะพรุน


1.ให้แช่หรือล้างด้วยน้ำส้มสายชูอย่างอ่อนประมาณ 15-30 นาที แต่ หากไม่มีให้ล้างด้วยน้ำทะเล หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล ห้ามล้างด้วยน้ำจืดเพราะจะทำให้เข็มพิษปล่อยออกมามากขึ้น และห้ามขัดถูบริเวณที่โดนแมงกะพรุน หลังจากนั้นใช้น้ำแข็งหรือน้ำอุ่นประคบ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำส้มสายชู

2. การใช้ครีมโกนหนวดทาลงบริเวณที่โดนแมงกะพรุน แล้วใช้มีดโกนโกนออก หรือ ใช้บัตรพลาสติก เช่น บัตรเครดิต ขูดออกเพื่อกำจัดเอาเข็มพิษที่ติดอยู่ออกไป แล้วจึงใช้น้ำส้มสายชูอย่างอ่อน หรือ แอลกอฮอล์ล้างต่อไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มีดโกน

3. วิธีที่ง่ายที่สุดและมีการทดสอบเปรียบเทียบถึงผลการรักษาชัดเจนว่าได้ผลดีที่สุด คือ การใช้น้ำอุ่น ค่อนข้างร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 45 องศาเซลเซียส วิธีนี้จะระงับความเจ็บปวด และการอักเสบได้ดีที่สุด จากการทดสอบ พบว่าอาการปวดลงภายใน 4-10 นาที และลดอาการปวมได้ จึงถือว่าเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้สะดวกที่สุด 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นำ้อุ่น

4. ผักบุ้งทะเลสามารถรักษาพิษของแมงกะพรุนได้ วิธีการใช้โดยนำใบผักบุ้งทะเล มา ตำหรือขยี้ให้ละเอียดพอกบริเวณที่โดนพิษ แต่หากสามารถคั้นเอาแต่น้ำได้ให้คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่โดนพิษของแมง กะพรุน จะช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้ การนำผักบุ้งทะเลมาใช้นั้นควรล้างให้สะอาดก่อนเพราะผักบุ้งทะเลที่ขึ้นอยู่ ตามชายฝั่ง โดยเฉพาะในที่ชุมชนหรือแหล่งท่องเที่ยวนั้นอาจมีสิ่งปฏิกูล หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ปนเปื้อนอยู่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผักบุ้งทะเล

5. ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนอาจจะมีอาการแพ้พิษทำให้เป็นไข้ หรืออาเจียน หรือเกิดอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน เช่น ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เขาจะมีอาการที่เป็นผื่นรุนแรง และปวดแสบปวดร้อนมากกว่าคนไทย ซึ่งปกติแล้วผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนชนิดที่ไม่รุนแรง ก็จะหายจากอาการปวดแสบปวดร้อนและผื่นแดง หลังจากล้างพิษด้วยผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูประมาณ 30-60 นาที หลังจากนั้นจะมีอาการแพ้พิษอื่นๆ ให้รักษาตามอาการและจะหายภายใน 2-3 วัน แต่ยังคงเหลือร่องรอยของการโดนพิษซึ่งจะปรากฎให้เห็นอยู่เป็นเดือน ถ้าเจอกับแมงกระพรุนไฟ หรือแมงกระพรุนชนิดร้ายแรง ก็จะกลายไปเป็นแผลเป็นไปในที่สุด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เป็นไข้

6. สำหรับผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนไฟ (Portuguese man-of-war)หรือแมงกะพรุนกล่อง(Box Jellyfish) ซึ่งจะมีความรุนแรงมากโดนพิษครั้งแรกจะปวดแสบปวดร้อน และผิวหนังที่โดนจะเป็นรอยไหม้ และเป็นแผลเรื้อรัง จนอาจจะเป็นแผลเป็นได้ ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผื่น แมงกะพรุนไฟ

ข้อควรปฏิบัติที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ขณะที่ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือ หลังจากการปฐมพยาบาล ควรรีบนำผู้ที่ได้รับพิษไปพบแพทย์ทันที 




การป้องกันหรือการหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนพิษของแมงกะพรุน

1. หลีกเลี่ยงการลงทะเลในช่วงหลังพายุฝนหรือช่วงที่มีแมงกะพรุนชุกชุม เพราะอาจมีกะเปาะพิษหลุดลอยในทะเลแม้เราจะไม่ได้สัมผัสกับแมงกะพรุนก็ตาม
2. สังเกตรอบตัวอยู่เสมอหากพบเจอแมงกะพรุนพยายามอยู่ให้ห่าง
3. สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดเวลาลงเล่นนํ้าทะเลหรือลงดำนํ้า
4. ใช้ครีมที่มีคุณสมบัติป้องกันพิษของแมงกะพรุนก่อนลงทะเล 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  http://www.freedomdive.com/th/tip/jellyfish
                                       http://www.thaiticketmajor.com/variety/info/237/
                                       https://th.wikipedia.org/wiki/แมงกะพรุน
                                       https://hilight.kapook.com/view/107616
                                       https://health.kapook.com/view174597.html
                                   http://www.antijellyfish.com/
                                   http://www.healthcarethai.com/พิษแมงกะพรุน

           เหตุผลที่นิสิตเลือกศึกษาแมงกะพรุนก็เพราะว่าตอนเด็กๆนิสิตเคยโดนแมงกะพรุนบริเวณขา แม้อาการจะไม่หนักมาก แต่ก็รู้สึกเจ็บปวดทรมานพอสมควร และยังทำให้นิสิตอดเล่นทะเลอีกด้วย ตอนเด็กๆนิสิตไม่รู้ว่าเจ้าตัวใสๆ ลอยได้นี้คือแมงกะพรุน นิสิตคิดว่าเป็นถุงพลาสติก ทำให้ขาดความระมัดระวัง จึงโดนพิษมันเข้าให้ ในตอนนั้นนิสิตไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะแก้พิษ เผอิญมีคุณลุงผ่านมา เขาบอกให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูทำให้อาการดีขึ้น นิสิตต้องขอบคุณคุณลุงเป็นอย่างมากที่ช่วยนิสิต เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้นิสิตนึกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าเราเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันรักษาพิษจากแมงกะพรุนให้คนทั่วไปทราบก็คงจะดี และอยากจะช่วยรณรงค์ให้ติดตั้งเสาน้ำส้มสายชูทุกๆชายหาด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น